Wednesday, November 21, 2007

Stupa Land Blessing and Guru Rinpoche Retreat

His Eminence Kundrol Mongyal Lhasray Rinpoche and Sang-ngag Lingpa Rinpoche (his son) will preside over the Stupa land blessing ceremony at the Tara Khadiravana Retreat Center on Thursday 10 January 2008, 11.09-13.30 hrs.

On 10-12 January Lhasray Rinpoche will lead a retreat and meditation on Guru Rinpoche. On Saturday 12 January, 13.00-16.00 hrs. he will perform Guru Rinpoche Empowerment.

Each morning we will make a vast offering to local gods and each evening we will make a vast burnt offering to bardo beings. More detail will be announced.


การวางศิลาฤกษ์พระสถูปและการปฏิบัติธรรมที่ขทริวัณ

พระอาจารย์กุนเทรอ เมินเกียล ลาเซ ริมโปเชและซังงัก ลิงปะ ริมโปเช (บุตร) จะเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์พระศานติตารามหาสถูปที่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณในวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2551 ระหว่างเวลา 11.09 -13.30 น.

การสวดมนตร์และนั่งสมาธิถึงพระคุรุ ริมโปเชและการทำพิธีมนตราภิเษกพระคุรุ ริมโปเช

ลาเซ ริมโปเชจะนำการสวดมนตร์ภาวนาและนั่งสมาธิถึงพระคุรุ ริมโปเช ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2551 และในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. ริมโปเชจะประกอบพิธีมนตราภิเษกพระคุรุ ริมโปเช

ในตอนเช้าของแต่ละวันจะมีการถวายเครื่องบูชาหรือ ซัง ขนาดใหญ่ แด่เทพยดา พญานาค เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ ในตอนเย็นของแต่ละวันจะมีการอุทิศกลิ่นอาหารไหม้หรือ ซู ให้เป็นทานแก่สัมภเวสีทั้งหลาย

รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบ

Updates on the Stupa Project



วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน คณะสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างพระมหาสถูปได้มาประชุมร่วมกันที่บ้านมูลนิธิพันดาราที่ซอยลาดพร้าว 11 ได้ข้อสรุปดังนี้

สัดส่วน

เราได้คุยกันเรื่องสัดส่วนของพระสถูปและพื้นที่ตั้งที่ขทิรวัณ ได้ข้อสรุปว่าฐานพระสถูปซึ่งจะทำเป็นเนินขึ้นมาจะอยู่ที่ความสูงประมาณ 9 เมตร ส่วนพระสถูปนับแต่ฐานดอกบัวขึ้นมาจะมีความสูง 45 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 54 เมตร

วัตถุมงคลภายในพระสถูป

บริเวณกลางพระสถูปจะมีเสาขวัญซึ่งเป็นเสมือนหัวใจของพระสถูป เสาขวัญนี้จะมีคัมภีร์ซึ่งเป็นลักษณะกระดาษมนตร์พันรอบ โดยคัมภีร์ต้นฉบับมีความยาว 80 หน้ากระดาษทิเบต เราจะต้องใช้หลายชุดพันซ้อนๆกัน ตามจุดที่เป็นจักรทั้งห้าของพระพุทธเจ้า ชุดต้นฉบับจะใช้มือเขียนด้วยหมึกทองจะเป็นชุดแรกที่จะพันที่เสา ทั้งต้นฉบับและชุดถ่ายเอกสารจะทำที่เมืองไทย ขณะนี้ ลาเซริมโปเชกำลังชำระคัมภีร์นี้โดยดูจากคัมภีร์ต้นแบบจาก 5 วัดในทิเบต

ท่านให้ความสำคัญกับการบรรจุภายในพระสถูปซึ่งจะต้องเป็นไปตามประเพณีทุกอย่างและต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์ เพราะวัตถุมงคลที่จะบรรจุจะทำให้พระสถูปมีจิตวิญญาณและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา มิฉะนั้นพระสถูปจะมีเพียงร่างเท่านั้น

เสาขวัญนี้อาจเป็นท่อนไม้ต่อๆกัน ในทิเบตนิยมใช้ไม้สนจูนิเปอร์ แต่เราอาจใช้ไม้สีเสียดหรือขทิระก็ได้

วัตถุมงคลอื่นๆที่จะบรรจุ ได้แก่

(1) พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ สถานที่บรรจุยังไม่ทราบ อาจเป็นที่องค์พระสมันตภัทรซึ่งจะประดิษฐานที่วงแหวนทองด้านบน

(2) พระพุทธรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เล็กๆ จะประดิษฐานภายในวงเแหวน

(3) คัมภีร์ แทนพระธรรม อาจบรรจุในบริเวณพระวิหาร

(4) ถุงรัตนโชคลาภ จะบรรจุไว้ที่ฐานแทนธาตุทั้ง 5 บริเวณเหนือซุ้มธรรมบาลขึ้นไป

(5) สถูปพิมพ์องค์เล็กๆทำด้วยดินเหนียวจำนวนมาก

(6) รูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ซึ่งจะถ่ายเอกสารที่เมืองไทยอีกจำนวนมาก ทั้งสถูปพิมพ์และรูปพระพุทธเจ้านี้จะบรรจุไว้ที่ฐานพรหมวิหาร4 เหนือบัลลังก์พระสถูปที่เป็นหลังคาของวิหาร

งานการบรรจุจะเริ่มทำตั้งแต่ช่วงริมโปเชมาในเดือนมกราคม 2551

ในระหว่างนี้อาจจะต้องเริ่มก่อสร้างเรือนหล่อพระและเก็บสถูปพิมพ์และวัตถุมงคลต่างๆ เป็นลักษณะ workshop ซึ่งน่าจะอยู่ด้านหน้าบริเวณสวนมะม่วง จะได้สะดวกกับการขนย้ายวัสดุและใกล้กับบ้านสำนักงาน ในอนาคตเมื่อมีช่างหล่อชาวทิเบตมาจะได้มาทำงานที่โรงหล่อนี้

การหล่อพระพุทธรูป

มูลนิธิได้ติดต่อโรงหล่อพุทธรังษี สี่แยกพรานนก ซึ่งคุณธำรง ปัทมภาส ศูนย์ไทย-ธิเบตแนะนำ โรงหล่อนี้มีประสบการณ์ในการหล่อสถูปทิเบตองค์เล็กๆ และหล่อรูปพระโพธิสัตว์และจตุโลกบาลมาแล้ว และมีประสบการณ์ในการทำงานกับต่างประเทศ ทางโรงหล่อยินดีร่วมมือกับมูลนิธิในการทำงานกับช่างทิเบต ในการหาแผ่นทองแดงสำหรับเคาะองค์พระตามขั้นตอนการสร้างพระแบบทิเบต และหาดินเหนียวสำหรับสร้างสถูปพิมพ์

ได้ปรึกษาคุณเอนก ผู้จัดการโรงหล่อ เกี่ยวกับวิธีการหล่อพระ ทางคุณเอนกแนะนำว่าถ้าใช้วิธีการแบบทิเบตอาจจะดีกว่าเพราะเบาและสวยงามกว่า วิธีการแบบไทยใช้ทองเหลืองเป็นจำนวนมาก จะทำให้องค์พระแต่ละองค์หนัก ขนาด 1.5 เมตรจะมีน้ำหนักถึง 400 กิโล ถ้าใช้แบบทิเบต จะเป็นการเคาะแผ่นทองแดง แล้วนำมาประกอบกัน ทางคุณเอนกบอกว่าโรงหล่อยินดีให้ความร่วมมือต่างๆ เช่น ช่วยเชื่อมแผ่นทองแดงเข้าด้วยกัน ช่วยทำฐานและอื่นๆ พร้อมกันทางโรงหล่อก็มีความสนใจจะเรียนรู้กรรมวิธีหล่อพระแบบทิเบตด้วย

ประมาณค่าใช้จ่ายในการหล่อพระ ขนาด 1.5 เมตร องค์ละไม่เกิน 300,000 บาท ถ้าใช้วิธีการหล่อแบบไทย

การทำสถูปจำลอง

มูลนิธิจะหล่อสถูปจำลองโดยใช้เรซินผสมผงหินอ่อนและใช้ทองแดงสำหรับพระพุทธรูปจำลองที่จะประดิษฐานที่วิหารและซุ้ม ทางคุณเอนกรับทำงานนี้ให้ ถ้าได้แบบโดยเร็ว สามารถทำให้เสร็จก่อนวันวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 10 มกราคม ได้

ในเรื่องนี้คณะสถาปนิกและวิศวกรจะนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 27 พฤศจิกายน

การแกะรูปพระแม่ตาราจากหินอ่อน

คุณธำรง ปัทมภาสกับมูลนิธิจินเกาะจะทำบุญในการสร้างรูปพระแม่ตาราที่กำลังแกะจากหินอ่อนเพื่อเป็นพระประธานในการทำน้ำมนตร์ขทิรวัณ ขนาดประมาณ 9 นิ้ว (ไม่รวมฐาน)

Sunday, November 18, 2007

Message from an Old Friend

Ajit Wettasinghe :

The challange you have undertake to build a great Stupa in Thailand reminds me a saying you quoted to me long ago, "If there is a will there is a way." I am sure you proved it in your life and you will do the same in building the Stupa too.

Tuesday, November 13, 2007

More from Khadiravana



Young Khadira (Acacia), a gift from K. Sanan from the Forestry Department



Near the Stupa site



View of the site from the North

Stupa Site



The Stupa site facing South.



Another view of the site facing South.



The Stupa site facing West, view from the main road.



Facing West.

Dzogchen Retreat Area



The back portion of the land is designated to be Dzogchen retreat area. The cabin with blue roof is dedicated to His Eminence Kundrol Mongyal Lhasray Rinpoche, who brings the dharma of Dzogchen into our life.

Recent Pictures from Khadiravana








Location of the Tara Great Stupa and its surrounding. Photos from Richard Weeks.

First Vajrayana Buddhist Stupa of Thailand dedicated to world peace and in honor of Thailand's great dharmaraja His Majesty the King Bhumipol.