Saturday, January 26, 2008

FAQ about the Tara Great Stupa for Peace and Harmony

คำถาม คำตอบเกี่ยวกับงานสร้างพระศานติตารามหาสถูป

1
ในขณะที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ในเมืองไทยดำรงชีวิตนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท
เหตุใดทางมูลนิธิจึงมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างพระสถูปแบบมหายานหรือแบบทิเบตขึ้นมาในประเทศไทย

เพราะมูลนิธิพันดาราไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทกับนิกายมหายานหรือวัชรยานในพระพุทธศาสนา นิกายเหล่านี้ล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า การสร้างสถูปแบบทิเบตหรือเจดีย์แบบไทยจึงเป็นการธำรงธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ให้สิ้นสูญ เป็นการเสริมพรของพระพุทธเจ้าให้กับจักรวาลเพื่อการขจัดกิเลสทั้งหลายให้สิิ้นไปและเพื่อสันติสุขของสัตว์โลก และเนื่องจากมูลนิธิพันดาราประกอบด้วยบุคคลที่ผูกพันกับประเพณีพุทธศิลป์ของทิเบตและมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระอาจารย์หลายท่านของทิเบต การสร้างพระสถูปแบบทิเบตซึ่งมีความงดงามและเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งนักบนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นดินแดนที่ได้รับพรจากพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลาช้านาน

2
จุดประสงค์ของการมีพระสถูปแบบมหายานกับพระสถูปหรือเจดีย์แบบเถรวาทของไทย
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์เหมือนกัน วิธีสร้างก็เหมือนกันคือใช้ธาตุทั้งห้า (ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ) อันมีอยู่ในธรรมชาติในการสร้าง ทัศนคติในการสร้างของผู้สร้างก็เหมือนกันคือการสะสมบุญบารมีเพื่อประโยชน์ทั้งในชาติภพนี้และชาติภพหน้า ผลของการสร้างก็ยังเหมือนกันคือเพื่อประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณกลายเป็นพระพุทธเจ้า สิ่งที่ต่างคือวิธีสร้างเนื่องจากวัฒนธรรมและประเพณีพุทธศิลป์ต่างกัน

3
เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่เราควรช่วยกันมีส่วนร่วมสร้างศาติตารามหาสถูป ในขณะที่เราสามารถเลือกบริจาคเงินตามศรัทธาให้แก่วัดต่างๆในเมืองไทย

การหล่อพระ การพิมพ์คัมภีร์พระไตรปิฎก การสร้างเจดีย์ ตลอดจนการดูแลพระสงฆ์ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความช่วยเหลือฆราวาสในสังคมไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แม้ว่าภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณจะไม่ใช่วัดที่มีภิกษุหรือภิกษุณีจำพรรษาอยู่เป็นประจำ แต่ก็เป็นสถานปฏิบัติธรรมสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติจำศีลภาวนาเพื่อให้ได้เข้าถึงสันติสุขในใจ อันจะนำมาซึ่งสันติสุขในสังคม การบริจาคเงินเพื่อสร้างพระศานติตารามหาสถูปนอกจากจะเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการทำงานเพื่อสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลกอีกด้วย

4
เหตุใดทางมูลนิธิจึงเลือกที่จะใช้เงินจำนวนมากไปในการสร้างพระสถูปซึ่งเป็นนามธรรม
แทนการช่วยเหลือเด็กสามเณรีในทิเบตซึ่งดูเป็นรูปธรรมมากกว่า

มูลนิธิมีโครงการหลากหลาย แม้ว่าจะรับภาระหนักในการสร้างพระศานติตารามหาสถูป มูลนิธิก็ยังคงให้ความช่วยเหลือเด็กกับสามเณรีในทิเบตอยู่เช่นเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มูลนิธิยังให้ความช่วยเหลือชาวทิเบตเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มโครงการการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุจำศึีล 3 ปี 3 เดือน 3 วันทั้งในทิเบตและอินเดีย นอกจากนี้ มูลนิธิยังคงจัดประชุมวิชาการและการอบรมในด้านต่างๆที่เกี่ยวโยงกับจิตวิญญาณและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มูลนิธิเชื่อว่าการงานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุมงคลและสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสิ่งแทนกาย วาจา ใจของพระพุทธเจ้า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและทิเบต หรือการให้ความรู้เป็นวิทยาทานล้วนแต่เป็นการงานที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น

5
ในการสร้างพระสถูปนั้นชาวพุทธในเมืองไทย และผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริจาคเงินสร้างพระศานติตารามหาสถูปจะได้ประโยชน์หรืออานิสงส์ในด้านใดบ้าง

ผู้มีความเชื่อในกฎแห่งกรรม ผู้มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ผู้มีส่วนร่วมในการทำงานพระสถูป ผู้มีความปีติยินดีในการทำงานนี้ทัั้งหลายล้วนได้ประโยชน์จาการสร้างพระสถูปทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลก ชึวิตของพวกเขามีความสุขขึ้น มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลง บริเวณที่พวกเขาอยู่ประสบภัยพิบัติน้อยลง ในทางธรรม พวกเขาได้อานิสงส์อันน้อมนำให้ได้เกิดใหม่ในภพภูมิสูงและให้ได้ตรัสรู้ธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ การสร้างพระสถูปยังเป็นการเสริมพลังทางบวกและให้โชคลาภต่อสังคม ประเทศ และต่อโลก ดังที่เราได้เห็นตัวอย่างอันงดงามของผู้สร้างพระสถูปโพธนาถที่ประเทศเนปาล แม้ว่าพวกเขาจะเป็นเพียงครอบครัวคนเลี้ยงไก่ แต่ด้วยความเพียร ศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา และความเชื่ออย่างไม่สั่นคลอนถึงอานิสงส์ของพระสถูป พวกเขาก็สามารถสร้างพระสถูปอันย่ิงใหญ่จนสำเร็จ พระสถูปนี้ได้กลายเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ชาวพุทธเดินประทักษิณาวรรตเพื่อน้อมนำใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยผลบุญจากการสร้างพระสถูป บุตรชาย 3 คนในครอบครัวชาวนาเมื่อตายไปได้ไปเกิดใหม่เป็นพระคุรุ ริมโปเช กษัติรย์ตรีซง เตเซ็น และพระศานติรักษิตะ ผู้เผยแผ่คำสอนวัชรยานในทิเบต
พระอาจารย์ลาเซ ริมโปเช กล่าวว่าสังสารวัฏเต็มไปด้วยกิเลสอันเปรียบเสมือนโรคร้าย หากเรามียา ทำไมเราจึงไม่ใช้ยาเพื่อกำจัดโรคร้ายให้สิ้นไป กิเลสทั้งห้า ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ความอิจฉาริษยา และความเย่อหยิ่งหลงตน เป็นโรคร้ายอันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายท่องไปในสังสารวัฏอย่างไม่จบสิ้น พระสถูปอันเป็นศูนย์รวมแห่งพลังความดีเป็นยาที่สามารถรักษาโรคร้ายเหล่านี้ได้ ในยุคสมัยที่เราถือกำเนิดมานี้เป็นกลียุคที่สัตว์ทั้งหลายเบียดเบียนกัน ทำร้ายกัน ไม่มีความประสงค์จะปฏิบัติธรรม การสร้างพระสถูปในยุคนี้เพื่อน้อมนำจิตของสัตว์โลกให้อยู่ในทางธรรมจึงมีความสำคัญยิ่ง

6
เนื่องจากขทิรวัณเป็นสถานปฎิบัติธรรมของฆราวาสไม่มีพระสงฆ์หรือลามะเหล่านี้จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์หรือความสำคัญของพระศานติตารามหาสถูปลดน้อยลงหรือไม่เมื่อเทียบกับสถานที่อื่นๆ
หากเป็นเช่นนั้นแล้วใครจะเป็นพระอาจารย์ผู้ดูแลพระสถูปหรือประกอบพิธีต่าๆ

ความสำคัญไม่ลดน้อยลง เพราะศูนย์ปฏิบัติธรรมนี้ไม่ใช่ของผู้มีทัศนคติทางโลก แต่เป็นของมูลนิธิอันเป็นกลุ่มคนที่มีปณิธานที่จะดำเนินงานตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์เพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในการทำพิธีต่างๆ ตลอดจนการบรรยายธรรม มูลนิธิพันดาราจะเชิญพระอาจารย์ในสายต่างๆมาเมืองไทย นอกจากนี้ อาจารย์กฤษดาวรรณ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีของทิเบตและการปฏิบัติวัชรยานและเป็นผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมขทิรวัณยังทำหน้าที่เป็นครูทางธรรมอีกคนหนึ่งด้วย


7
นอกจากการได้เข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปและพระแม่ตาราแล้ว ผู้มาสักการะสามารถทำกิจกรรมทางศาสนาด้านใดได้อีกบ้างภายในพระสถูป

ผู้มาสักการะบูชาสามารถนั่งสมาธิ สวดมนตร์ภาวนา ร่วมพิธีกรรมต่างๆ ภายในวิหาร เดินรอบพระสถูป หมุนกงล้อมนตร์ที่ฐานพระสถูป ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ ร่วมถวายเครื่องบูชาพระสถูปประจำปี และตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดสันติภาพบนโลก ให้สัตว์ทั้งหลายได้ยินพระธรรม และเข้าถึงการตรัสรู้โดยเร็ว พระสถูปจึงเป็นทั้งสถูปและวิหารในเวลาเดียวกัน

8
ในการสร้างศานติตารามหาสถูปนั้นใครจะเป็นผู้ดูแลและทางมูลนิธิมีการวางแผนทางการ
ขอเงินทุนสร้างพระสถูปอย่างไรบ้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

มูลนิธิพันดาราเป็นผู้ประสานงาน ผู้สร้างคือบุคคลและหน่ายงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้สร้างเหล่านี้มีปณิธานที่จะจรรโลงสันติภาพของโลก เป็นผู้ทำงานเพื่อสันติสุขของสัตว์โลกทั้งหกภพภูมิ เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ มีปณิธานในการสร้างสถูปเพื่อความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้ได้ประโยชน์จากการสร้างพระสถูปคือสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าพวกเขาจะได้เห็น ได้ยิน ได้ระลึกถึงพระสถูป หรือได้มาสักการะบูชาพระสถูปด้วยตัวเอง หัวใจหลักคือพระสถูปไม่ใช่ของลามะท่านใดท่านหนึ่ง ไม่ใช่ของมูลนิธิพันดารา ไม่ใช่ของผู้บริจาคเงินคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของสัตว์โลกทั้งหลาย การหาเงินมีทัั้งการจัดกิจกรรมต่างๆที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา และการขอทุนจากมูลนิธิและองค์กรต่างๆ กิจกรรมที่จะจัดนอกจากจะเป็นการหาทุนแล้วยังเป็นโอกาสที่มูลนิธิจะได้ทำสิ่งดีๆให้แก่สังคมอีกด้วย

9
ทำไมทางมูลนิธิจึงระบุให้พระสถูปมีฐานกว้าง 30 เมตรและความสูง 60 เมตร
ซึ่งหากทำขนาดที่เล็กว่าน่าจะใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

ทางมูลนิธิไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์สำหรับแต่ละคนหรือประโยชน์แต่เพียงประเทศไทย แต่มูลนิธิคำนึงถึงสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลก และมีปณิธานที่จะสร้างพระสถูปที่จะธำรงอยู่จนกว่าสังสารวัฏจะสิ้นสูญ จึงต้องการสร้างพระมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุด งดงามที่สุด ผู้ใดก็ํตามที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมและการดำรงชีวิตที่จะกระทำแต่ความดี เกิดความประทับใจในพุทธศิลป์แบบทิเบตอันเป็นมรดกของโลก พระมหาสถูปที่จะสร้างจึงเป็นเช่นพระปฐมเจดีย์ หรือพระสถูปโพธนาถหรือสวายัมภูนาถในเนปาลที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปนานเพียงไรก็ยังสถิตย์อยู่ในใจของสาธุชนเสมอ นอกจากนี้พระมหาสถูปเช่นนี้ยังเป็นแรงดึงดูดให้ผู้คนมาเยี่ยมชมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย

Tuesday, December 11, 2007

Benefactors of the Tara Great Stupa - November 2007

The 1000 Stars Foundation is grateful to the following individuals who made donations to the building of the Tara Great Stupa for Peace and Harmony. The list is for November 2007.

Wanngam Santimaniratana (คุณวรรณงาม สันติมณีรัตน์) 10,000 baht
Nakorn-Sataporn-Jhansiddh Settachayanon (คุณนคร-สถาพร-ฌานสิทธิ เศรษฐชยานนท์) 5,000 baht
Professor Dr. Amara Prasitrathasint (ศ. ดร. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์) 2,000 baht
Mr. Ampon (คุณอำพล) 1,000 baht
Mrs. Liu 1,000 baht

Wednesday, November 21, 2007

Stupa Land Blessing and Guru Rinpoche Retreat

His Eminence Kundrol Mongyal Lhasray Rinpoche and Sang-ngag Lingpa Rinpoche (his son) will preside over the Stupa land blessing ceremony at the Tara Khadiravana Retreat Center on Thursday 10 January 2008, 11.09-13.30 hrs.

On 10-12 January Lhasray Rinpoche will lead a retreat and meditation on Guru Rinpoche. On Saturday 12 January, 13.00-16.00 hrs. he will perform Guru Rinpoche Empowerment.

Each morning we will make a vast offering to local gods and each evening we will make a vast burnt offering to bardo beings. More detail will be announced.


การวางศิลาฤกษ์พระสถูปและการปฏิบัติธรรมที่ขทริวัณ

พระอาจารย์กุนเทรอ เมินเกียล ลาเซ ริมโปเชและซังงัก ลิงปะ ริมโปเช (บุตร) จะเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์พระศานติตารามหาสถูปที่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณในวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2551 ระหว่างเวลา 11.09 -13.30 น.

การสวดมนตร์และนั่งสมาธิถึงพระคุรุ ริมโปเชและการทำพิธีมนตราภิเษกพระคุรุ ริมโปเช

ลาเซ ริมโปเชจะนำการสวดมนตร์ภาวนาและนั่งสมาธิถึงพระคุรุ ริมโปเช ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2551 และในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. ริมโปเชจะประกอบพิธีมนตราภิเษกพระคุรุ ริมโปเช

ในตอนเช้าของแต่ละวันจะมีการถวายเครื่องบูชาหรือ ซัง ขนาดใหญ่ แด่เทพยดา พญานาค เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ ในตอนเย็นของแต่ละวันจะมีการอุทิศกลิ่นอาหารไหม้หรือ ซู ให้เป็นทานแก่สัมภเวสีทั้งหลาย

รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบ

Updates on the Stupa Project



วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน คณะสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างพระมหาสถูปได้มาประชุมร่วมกันที่บ้านมูลนิธิพันดาราที่ซอยลาดพร้าว 11 ได้ข้อสรุปดังนี้

สัดส่วน

เราได้คุยกันเรื่องสัดส่วนของพระสถูปและพื้นที่ตั้งที่ขทิรวัณ ได้ข้อสรุปว่าฐานพระสถูปซึ่งจะทำเป็นเนินขึ้นมาจะอยู่ที่ความสูงประมาณ 9 เมตร ส่วนพระสถูปนับแต่ฐานดอกบัวขึ้นมาจะมีความสูง 45 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 54 เมตร

วัตถุมงคลภายในพระสถูป

บริเวณกลางพระสถูปจะมีเสาขวัญซึ่งเป็นเสมือนหัวใจของพระสถูป เสาขวัญนี้จะมีคัมภีร์ซึ่งเป็นลักษณะกระดาษมนตร์พันรอบ โดยคัมภีร์ต้นฉบับมีความยาว 80 หน้ากระดาษทิเบต เราจะต้องใช้หลายชุดพันซ้อนๆกัน ตามจุดที่เป็นจักรทั้งห้าของพระพุทธเจ้า ชุดต้นฉบับจะใช้มือเขียนด้วยหมึกทองจะเป็นชุดแรกที่จะพันที่เสา ทั้งต้นฉบับและชุดถ่ายเอกสารจะทำที่เมืองไทย ขณะนี้ ลาเซริมโปเชกำลังชำระคัมภีร์นี้โดยดูจากคัมภีร์ต้นแบบจาก 5 วัดในทิเบต

ท่านให้ความสำคัญกับการบรรจุภายในพระสถูปซึ่งจะต้องเป็นไปตามประเพณีทุกอย่างและต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์ เพราะวัตถุมงคลที่จะบรรจุจะทำให้พระสถูปมีจิตวิญญาณและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา มิฉะนั้นพระสถูปจะมีเพียงร่างเท่านั้น

เสาขวัญนี้อาจเป็นท่อนไม้ต่อๆกัน ในทิเบตนิยมใช้ไม้สนจูนิเปอร์ แต่เราอาจใช้ไม้สีเสียดหรือขทิระก็ได้

วัตถุมงคลอื่นๆที่จะบรรจุ ได้แก่

(1) พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ สถานที่บรรจุยังไม่ทราบ อาจเป็นที่องค์พระสมันตภัทรซึ่งจะประดิษฐานที่วงแหวนทองด้านบน

(2) พระพุทธรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เล็กๆ จะประดิษฐานภายในวงเแหวน

(3) คัมภีร์ แทนพระธรรม อาจบรรจุในบริเวณพระวิหาร

(4) ถุงรัตนโชคลาภ จะบรรจุไว้ที่ฐานแทนธาตุทั้ง 5 บริเวณเหนือซุ้มธรรมบาลขึ้นไป

(5) สถูปพิมพ์องค์เล็กๆทำด้วยดินเหนียวจำนวนมาก

(6) รูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ซึ่งจะถ่ายเอกสารที่เมืองไทยอีกจำนวนมาก ทั้งสถูปพิมพ์และรูปพระพุทธเจ้านี้จะบรรจุไว้ที่ฐานพรหมวิหาร4 เหนือบัลลังก์พระสถูปที่เป็นหลังคาของวิหาร

งานการบรรจุจะเริ่มทำตั้งแต่ช่วงริมโปเชมาในเดือนมกราคม 2551

ในระหว่างนี้อาจจะต้องเริ่มก่อสร้างเรือนหล่อพระและเก็บสถูปพิมพ์และวัตถุมงคลต่างๆ เป็นลักษณะ workshop ซึ่งน่าจะอยู่ด้านหน้าบริเวณสวนมะม่วง จะได้สะดวกกับการขนย้ายวัสดุและใกล้กับบ้านสำนักงาน ในอนาคตเมื่อมีช่างหล่อชาวทิเบตมาจะได้มาทำงานที่โรงหล่อนี้

การหล่อพระพุทธรูป

มูลนิธิได้ติดต่อโรงหล่อพุทธรังษี สี่แยกพรานนก ซึ่งคุณธำรง ปัทมภาส ศูนย์ไทย-ธิเบตแนะนำ โรงหล่อนี้มีประสบการณ์ในการหล่อสถูปทิเบตองค์เล็กๆ และหล่อรูปพระโพธิสัตว์และจตุโลกบาลมาแล้ว และมีประสบการณ์ในการทำงานกับต่างประเทศ ทางโรงหล่อยินดีร่วมมือกับมูลนิธิในการทำงานกับช่างทิเบต ในการหาแผ่นทองแดงสำหรับเคาะองค์พระตามขั้นตอนการสร้างพระแบบทิเบต และหาดินเหนียวสำหรับสร้างสถูปพิมพ์

ได้ปรึกษาคุณเอนก ผู้จัดการโรงหล่อ เกี่ยวกับวิธีการหล่อพระ ทางคุณเอนกแนะนำว่าถ้าใช้วิธีการแบบทิเบตอาจจะดีกว่าเพราะเบาและสวยงามกว่า วิธีการแบบไทยใช้ทองเหลืองเป็นจำนวนมาก จะทำให้องค์พระแต่ละองค์หนัก ขนาด 1.5 เมตรจะมีน้ำหนักถึง 400 กิโล ถ้าใช้แบบทิเบต จะเป็นการเคาะแผ่นทองแดง แล้วนำมาประกอบกัน ทางคุณเอนกบอกว่าโรงหล่อยินดีให้ความร่วมมือต่างๆ เช่น ช่วยเชื่อมแผ่นทองแดงเข้าด้วยกัน ช่วยทำฐานและอื่นๆ พร้อมกันทางโรงหล่อก็มีความสนใจจะเรียนรู้กรรมวิธีหล่อพระแบบทิเบตด้วย

ประมาณค่าใช้จ่ายในการหล่อพระ ขนาด 1.5 เมตร องค์ละไม่เกิน 300,000 บาท ถ้าใช้วิธีการหล่อแบบไทย

การทำสถูปจำลอง

มูลนิธิจะหล่อสถูปจำลองโดยใช้เรซินผสมผงหินอ่อนและใช้ทองแดงสำหรับพระพุทธรูปจำลองที่จะประดิษฐานที่วิหารและซุ้ม ทางคุณเอนกรับทำงานนี้ให้ ถ้าได้แบบโดยเร็ว สามารถทำให้เสร็จก่อนวันวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 10 มกราคม ได้

ในเรื่องนี้คณะสถาปนิกและวิศวกรจะนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 27 พฤศจิกายน

การแกะรูปพระแม่ตาราจากหินอ่อน

คุณธำรง ปัทมภาสกับมูลนิธิจินเกาะจะทำบุญในการสร้างรูปพระแม่ตาราที่กำลังแกะจากหินอ่อนเพื่อเป็นพระประธานในการทำน้ำมนตร์ขทิรวัณ ขนาดประมาณ 9 นิ้ว (ไม่รวมฐาน)

Sunday, November 18, 2007

Message from an Old Friend

Ajit Wettasinghe :

The challange you have undertake to build a great Stupa in Thailand reminds me a saying you quoted to me long ago, "If there is a will there is a way." I am sure you proved it in your life and you will do the same in building the Stupa too.

Tuesday, November 13, 2007

More from Khadiravana



Young Khadira (Acacia), a gift from K. Sanan from the Forestry Department



Near the Stupa site



View of the site from the North

Stupa Site



The Stupa site facing South.



Another view of the site facing South.



The Stupa site facing West, view from the main road.



Facing West.

Tara Great Stupa for Peace and Harmony

First Vajrayana Buddhist Stupa of Thailand dedicated to world peace and in honor of Thailand's great dharmaraja His Majesty the King Bhumipol.